share

แบบหล่อคอนกรีต Concrete Formwork + Spreadsheet

Last updated: 14 Aug 2024
212 Views
แบบหล่อคอนกรีต Concrete Formwork + Spreadsheet

แบบเหล็ก & แบบหล่อคอนกรีต

เป็นโครงสร้างชั่วคราวเพื่อใช้สาหรับรองรับน้ำหนัก และควบคุมคอนกรีต ให้อยู่ในรูปร่างและขนาดภายในแบบหล่อตามความต้องการ หลังจากเทคอนกรีตลงในแบบหล่อแล้ว คอนกรีตจะค่อยๆ พัฒนากำลังอัดขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งโครงสร้างคอนกรีตมีความสามารถต้านทานแรงต่างๆที่มากระทำได้

คุณสมบัติของแบบหล่อที่ดี

  • วัสดุที่ใช้ทำแบบหล่อควรมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย
  • มีความแข็งแรงอย่างเพียงพอ ไม่เกิดการแอ่นตัวจนเสีย รูปร่างขณะเทคอนกรีต
  • วัสดุที่ใช้ค้ำยันมีความแข็งแรงอย่างเพียงพอ
  • รอยต่อของแบบหล่อมีความมั่นคงแข็งแรง
  • ผิวสัมผัสระหว่างแบบหล่อควรมีความเรียบพอควร
  • สามารถทนทานต่อการปฏิกิริยาจากน้ำปูนโดยไม่เกิด การเสียหาย เสียรูปร่าง

วัสดุที่ใช้ทำแบบหล่อคอนกรีต

ต้องคำนึงถึงความประหยัดตลอดจนความแข็งแรง สะดวกในการติดตั้งและถอดออก จำนวนครั้งของการใช้งานซ้ำ รวมถึงรูปร่างและผิวของคอนกรีตหลังจากถอดแบบหล่อ โดยวัสดุที่นิยมใช้ทำแบบหล่อคอนกรีตมีมากมายหลายชนิดดังนี้

  1. ไม้แปรรูป เป็นวัสดุที่นิยมใช้กับงานก่อสร้างอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะสามารถหาซื้อได้ง่าย มีคุณสมบัติดี สามารถตัดต่อประกอบเป็นรูปร่างได้ มีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก
    โดยไม้ที่นิยมใช้ทำแบบหล่อคอนกรีตมากที่สุดคือ ไม้กระบาก โดยทั่วไปไม้แบบสามารถหมุนเวียนนามาใช้ซ้ำได้ประมาณ 3-4 ครั้ง
  2. ไม้อัด มีลักษณะเป็นแผ่นบาง นิยมใช้ทำเป็นแบบหล่อทดแทนไม้กระดานได้ เหมาะสำหรับงานแบบหล่อที่มีพื้นที่กว้าง เช่น หล่อพื้น หรือผนังคอนกรีต และไม้อัดสามารถทำแบบหล่อที่มีรูปร่างโค้งได้ดี
  3. เหล็ก แบบหล่อเหล็กนิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงและผิวคอนกรีตที่สวยงาม สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ทนทาน ประหยัดค่าแบบหล่อ เหล็กที่นำมาใช้ทำแบบหล่อส่วนใหญ่ เป็นเหล็กมาตรฐาน ASTM ข้อเสียของแบบเหล็กคือ ดัดแปลงรูปร่างยาก น้ำหนักมาก
  4. พลาสติก แบบหล่อพลาสติกนามาใช้กับงานที่ต้องการคุณภาพผิวงานที่สวยงามและสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง เนื่องจากแบบหล่อพลาสติกมีค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับแบบหล่อชนิดอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีน้ำยาเคลือบแบบหล่อ โดยมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้คอนกรีตเกาะติดกับผิวแบบหล่อ ทำให้ถอดแบบหล่อออกได้ง่าย ได้ผิวคอนกรีตที่เรียบและสะอาดยืดอายุการใช้งานซ้าของแบบหล่อ

น้ำหนักและแรงดันที่กระทำต่อแบบหล่อ

  1. น้ำหนักคงที่ คือ น้ำหนักของแบบหล่อ คอนกรีต เหล็กเสริม
  2. น้ำหนักจร คือ น้ำหนักนอกเหนือจากน้ำหนักคงที่ เช่น คนงาน เครื่องมือ วัสดุต่างๆ
  3. น้ำหนักจากสภาวะแวดล้อม คือ แรงที่กระทำมาจากธรรมชาติ ได้แก่ แรงลม พายุฝน เป็นต้น
  4. แรงดันของคอนกรีตต่อแบบหล่อในขณะที่อยู่ในสภาวะของเหลว

ปัจจัยที่มีผลต่อแรงดันคอนกรีตที่มากระทำต่อแบบหล่อ

  1. ส่วนผสมของคอนกรีต คอนกรีตที่เหลวมีค่าการยุบตัวสูง ทำให้มีแรงดันที่กระทำต่อแบบหล่อมาก และคอนกรีตที่มีสภาพข้นเหนียวมีค่าการยุบตัวต่ำ มีแรงดันต่อแบบหล่อน้อย
  2. การเทคอนกรีตในอัตราที่ช้า คอนกรีตที่ส่วนล่างจะค่อยๆก่อตัวมีส่วนช่วยลดแรงดันลงได้เป็นอย่างมาก
  3. ความหนาแน่นของคอนกรีต หากผสมคอนกรีตที่มีหน่อยน้ำหนักยิ่งมาก ยิ่งมีแรงดันคอนกรีตมากขึ้น
  4. อุณหภูมิ เทคอนกรีตในช่วงอากาศร้อน แรงดันจะน้อย อากาศเย็นแรงดันจะมาก
  5. การใช้เครื่องสั่นคอนกรีต แรงสั่นสะเทือนทำให้คอนกรีตแน่นตัว ละส่งผลให้เกิดแรงดันต่อแบบหล่อมากขึ้น
  6. ความสูงของระยะเท แรงดันคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นตามความสูงของคอนกรีต
  7. ขนาดของหน้าตัดโครงสร้าง โครงสร้างใหญ่แรงดันจะสูงกว่าโครงสร้างขนาดเล็ก
  8. ปริมาณเหล็กเสริม เหล็กเสริมสามารถช่วยต้านทาน และพยุงเนื้อคอนกรีต

ขั้นตอนการถอดแบบหล่อคอนกรีต

1. เตรียมสถานที่ ก่อนจะเริ่มถอดแบบหล่อคอนกรีต ควรเตรียมสถานที่ให้พร้อมเสียก่อน ไม่ควรวางแบบหล่อบนพื้นผิวคอนกรีต เพราะอาจทำให้ผิวคอนกรีตเป็นรอยหรือเกิดฝุ่นที่หน้าคอนกรีตได้

2. วางลำดับขั้นการถอดแบบหล่อคอนกรีต การถอดแบบหล่อจะต้องวางแผนให้เป็นระบบ เพราะจะต้องทำการค้ำยันบริเวณส่วนกลางของพื้นหรือคานเสียก่อน เพื่อป้องกันการโก่งตัว ที่อาจทำให้เกิดการแตกร้าวได้

3. ถอดแบบหล่อ หลังจากเทคอนกรีตแล้ว การถอดแบบและค้ำยัน จะต้องทำภายในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้โครงสร้างบ้านออกมามั่นคงแข็งแรงมากที่สุด โดยระยะเวลาก่อนถอดแบบหล่อคอนกรีตที่เหมาะสมสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
.
- แบบหล่อด้านข้าง เสา คาน กำแพง และฐานราก = 2 วัน (48 ชั่วโมง)
- แบบหล่อท้องพื้น = 14 วัน
- แบบหล่อท้องคาน = 14 วัน
- แบบหล่อท้องคานความยาวเกิน 6 เมตร = 21 วัน

หมายเหตุ - ถอดเสาค้ำยัน ใต้คาน ใต้พื้น หลังเทคอนกรีตไปแล้วไม่น้อยกว่า 21 วัน และค้ำยันตรงกลางคาน กลางพื้นต่อทันที ต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 7 วัน และ การรื้อแบบหล่อคานยื่น พื้นยื่น ให้เริ่มต้นรื้อจากปลายคานยื่นหรือปลายพื้นยื่นเข้ามา หลังรื้อแบบหล่อไม้ ให้ถอนหรือพับตะปูให้หมด

4. การบ่มคอนกรีต เป็นขั้นตอนหลังถอดแบบหล่อคอนกรีตแล้ว จะต้องบ่มคอนกรีตด้วยการฉีดน้ำให้ชุ่มหรือใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต โดยใช้เวลาอย่างน้อย 7 วัน เพื่อป้องกันคอนกรีตสูญเสียความชื้นจากความร้อน หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งอาจทำให้พื้นผิวคอนกรีตแตกร้าวได้

เทคนิคเล็กๆน้อยเกี่ยวกับแบบหล่อ เพื่อป้องกันอันตราย

  • เช็คระยะห่างตง และเสาค้ำยัน ระยะห่างไม่เกิน 50 เซนติเมตร
  • ห้ามลูกจ้างอยู่ใต้แบบหล่อ
  • ตีนเสา และค้ำยัน ต้องเช็คให้ดีๆว่าค้ำยันพอไหม
  • กรณีใช้เสาและค้ำยันเหล็กสำเร็จรูป ให้เช็คการขันเกลียวปรับระดับความยาวเสาค้ำยันเหล็กให้แน่น

นอกจากนี้ยังมี Spreadsheets การคำนวณออกแบบโครงสร้างแบบหล่อคอนกรีต ให้ไว้เพื่อนได้ลองใช้กันด้วย สำหรับผู้ที่ต้องการออกแบบ

ข้อมูลจาก : TumCivil

Related Content
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Privacy Policy and Cookies Policy
Compare product
0/4
Remove all
Compare