แชร์

การคำนวณออกแบบ ตามประกาศกรมสวัสดิการ เรื่อง นั่งร้านโดยวิศวกร 2564

อัพเดทล่าสุด: 14 ส.ค. 2024
3498 ผู้เข้าชม
การคำนวณออกแบบ ตามประกาศกรมสวัสดิการ เรื่อง นั่งร้านโดยวิศวกร 2564

การคำนวณออกแบบ ตามประกาศกรมสวัสดิการ เรื่อง นั่งร้านโดยวิศวกร 2564

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. ๒๕๖๔

กำหนดให้ นายจ้างต้องจัดให้มีการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร ทั้งนี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน และค้ำยัน พ.ศ. ๒๕๖๔ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี้
จุดคราก (yield point) หมายความว่า จุดที่หน่วยแรงดึงที่วัสดุเริ่มยืดโดยไม่ต้องเพิ่มแรงดึง ขึ้นอีก
น้ำหนักบรรทุกใช้งาน (working load) หมายความว่า ผลรวมของน้ำหนักบรรทุกทั้งหมด ที่กระทำต่อโครงสร้าง
น้ำหนักบรรทุกคงที่ (dead load) หมายความว่า น้ำหนักของนั่งร้านที่พิจารณาน้ำหนักรวม ของอุปกรณ์ทั้งหมดของนั่งร้านร่วมด้วย
น้ำหนักบรรทุกจร (live load) หมายความว่า น้ำหนักบรรทุกที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ขนาดและตำแหน่ง เช่น น้ำหนักบรรทุกของผู้ปฏิบัติงาน วัสดุ หรือรถเข็นซีเมนต์

หมวด ๒
การคำนวณออกแบบ

ข้อ ๒๐ กรณีนายจ้างจัดให้มีวิศวกรเป็นผู้คำนวณและออกแบบนั่งร้าน หรือนั่งร้านที่มาจาก ผู้ผลิต อย่างน้อยต้องมีกำลังของวัสดุเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

(๑) ไม้ที่ใช้สร้างนั่งร้านต้องไม่ผุ เปื่อย หรือชำรุดจนทำให้ขาดความแข็งแรงทนทาน มีหน่วยแรงดัดประลัย (ultimate bending stress) ไม่น้อยกว่า ๓๐๐ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๔
(๒) เหล็กที่ใช้สร้างนั่งร้านต้องมีจุดคราก ไม่น้อยกว่า ๒,๔๐๐ กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า ๒
(๓) เชือกหรือลวดสลิงต้องสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ไม่น้อยกว่าน้ำหนักบรรทุกใช้งานสูงสุด ที่ผู้ผลิตกำหนดไว้
(๔) ฐานหรือที่รองรับนั่งร้าน ต้องแข็งแรง สามารถรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานไม่น้อยกว่า ๒ เท่า ของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน
(๕) นั่งร้านที่สร้างด้วยเหล็กต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานไม่น้อยกว่า ๒ เท่า ของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน กรณีสร้างด้วยวัสดุอื่นที่ไม่ใช่เหล็กต้องมีเอกสารแสดงผลกำลังวัสดุประกอบด้วย
(๖) นั่งร้านที่สร้างด้วยไม้ต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกใช้งานไม่น้อยกว่า ๔ เท่า ของน้ำหนักบรรทุกใช้งาน กรณีสร้างด้วยไม้ไผ่ต้องมีเอกสารแสดงผลกำลังวัสดุจากสถาบันที่เชื่อถือได้ประกอบ

ข้อ ๒๑ กรณีมีการคำนวณน้ำหนักบรรทุกใช้งานซึ่งกระทำบนโครงสร้างนั่งร้าน อย่างน้อย ต้องสามารถรับน้ำหนักซึ่งเป็นผลรวมของน้ำหนักบรรทุก ดังต่อไปนี้

(๑) น้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่ง ดังนี้
(ก) น้ำหนักบรรทุกคงที่
(ข) น้ำหนักบรรทุกจรของผู้ปฏิบัติงานและวัสดุบนแผ่นพื้นนั่งร้านสำหรับการทำงานจริง แต่ต้องไม่น้อยกว่า ๑๕๐ กิโลกรัมต่อตารางเมตร
(๒) น้ำหนักบรรทุกจากสภาพแวดล้อม เช่น แรงสั่นสะเทือน แรงลม แรงดันดิน แรงดัน ของกระแสนำ
น้ำหนักผ้าใบ แผ่นไม้ หรือสิ่งปิดกั้นอื่นที่อาจมีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของนั่งร้านด้วย เป็นต้น

ข้อ ๒๒ กรณีที่นายจ้างสร้างนั่งร้าน วัสดุที่ใช้สร้างต้องไม่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ชำรุด ผุ เปื่อย มีรอยแตกร้าว จนอาจทำให้ขาดความแข็งแรงและปลอดภัย
(๒) วัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างนั่งร้านต่างชนิดกัน
(๓) ใช้ตะปูเหล็กหล่อยึดติดโครงสร้างนั่งร้านไม้
(๔) เชือกหรือลวดสลิงสำหรับนั่งร้านแบบห้อยแขวน ต้องไม่มีลักษณะ ดังนี
(ก) ผุ เปื่อย ถูกกัดกร่อน ชำรุด หรือเป็นสนิม
(ข) มีร่องรอยเนื่องจากถูกความร้อนหรือสารเคมีทำลาย
(ค) เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงเกินร้อยละห้าของเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม
(ง) กรณีลวดสลิงขมวด (kink) หรือแตกเกลียว (bird caging)
(จ) กรณีลวดสลิง เส้นลวดในหนึ่งช่วงเกลียว (lay) ขาดตั้งแต่สามเส้นขึ้นไปในเกลียว (strand) เดียวกัน หรือขาดตั้งแต่หกเส้นขึ้นไปในหลายเกลียว (strands) รวมกัน

ข้อ ๒๓ กรณีนายจ้างให้ลูกจ้างใช้นั่งร้านสำหรับการทำงาน ต้องจัดให้มีการออกแบบนั่งร้าน อย่างน้อยประกอบไปด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้

(๑) พื้นนั่งร้านต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๓๕ เซนติเมตร และยึดติดให้มั่นคงแข็งแรงและ ปลอดภัย
(๒) กรณีต้องมีการใช้บันได บันไดภายในนั่งร้าน บันไดไต่ หรือที่มีทางขึ้น - ลงนั่งร้าน ต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน ไม่ชำรุดเสื่อมสภาพ มีสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ตามลักษณะ ดังนี้
(ก) กรณีบันไดภายในนั่งร้าน ขนาดของลูกนอนบันไดต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร และระยะห่างของขั้นบันไดต้องเท่ากันโดยห่างกันไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร
(ข) กรณีบันไดไต่ ต้องมีระยะห่างของขั้นบันไดเท่ากัน โดยห่างกันไม่เกิน ๓๐ เซนติเมตร และติดตรึงกับนั่งร้านให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
(๓) ราวกันตกมีความสูงอย่างน้อย ๙๐ เซนติเมตร แต่ไม่เกิน ๑.๑๐ เมตร และ อย่างน้อยต้องประกอบด้วยราวบน ราวกลาง หรือสิ่งอื่นใดที่มั่นคงแข็งแรงเหมาะสมกับนั่งร้านนั น ๆ และสามารถป้องกันการตกของผู้ปฏิบัติงานได้
(๔) ขอบกันวัสดุ หรือเครื่องมือและอุปกรณ์ตกหล่น ต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร จากพื นนั่งร้าน หรือสิ่งอื่นใดที่มั่นคงแข็งแรงเหมาะสมกับนั่งร้านนั้น ๆ และสามารถ ป้องกันการตกหล่น
(๕) กรณีสร้างนั่งร้านสูงตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป ต้องออกแบบและสร้างค้ำยันด้วยวิธีการ ยึดตรึงกับอาคารหรือโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อป้องกันการโย้หรือเซ
ข้อ ๒๔ กรณีนายจ้างติดตั้งนั่งร้านแบบห้อยแขวน ต้องไม่นำนั่งร้านไปเกาะหรือยึดติดกับ ก าแพงวัสดุก่อ ส่วนของอาคารที่มีโครงสร้างไม่มั่นคงแข็งแรง หรือโครงสร้างที่มิได้กำหนดหรือออกแบบไว้ ข้อ ๒๕ กรณีนั่งร้านแบบห้อยแขวน ซึ่งมีด้านที่ชิดกับตัวอาคารหรือบริเวณที่ปฏิบัติงาน นายจ้างต้องดำเนินการยึดโยงกับตัวอาคารมิให้นั่งร้านกระแทกกับตัวอาคาร มีการติดตั้งวัสดุหรืออุปกรณ์ ป้องกันการกระแทก หรือป้องกันการสัมผัสโดยตรงระหว่างอุปกรณ์ส่วนประกอบของนั่งร้านกับส่วนของ อาคารหรือโครงสร้าง เช่น ยางนิ่ม ยางลม หรือสิ่งอื่นใดที่มีความเหมาะสม เป็นต้น

ข้อมูล : เซฟตี้อินไทย.com
ข้อมูล : TumCivil

บทความที่เกี่ยวข้อง
Thailand Scaffolding , KOH เราเป็นบริษัทจำหน่ายนั่งร้านและอุปกรณ์นั่งร้าน อันดับต้นๆของไทย
นั่งร้าน JIS และอุปกรณ์ราคาโรงงาน เรานำเข้าเอง การันตีเรื่องราคาเราถูกสุดแน่นอน พร้อมท้าเทียบราคากับเจ้าอื่น ด้วยมาตรฐาน ISO 9001 - 2015 การันตีความเป็นมาตรฐานแน่นอน
27 ส.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ