แบบหล่อคอนกรีต (Concrete Formwork) + Spreadsheet ออกแบบแบบหล่อคอนกรีต
Last updated: 26 Mar 2024
4200 Views
แบบหล่อคอนกรีต (Concrete Formwork)
เป็นโครงสร้างชั่วคราวเพื่อใช้สาหรับรองรับน้ำหนัก และควบคุมคอนกรีต ให้อยู่ในรูปร่างและขนาดภายในแบบหล่อตามความต้องการ หลังจากเทคอนกรีตลงในแบบหล่อแล้ว คอนกรีตจะค่อยๆ พัฒนากำลังอัดขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งโครงสร้างคอนกรีตมีความสามารถต้านทานแรงต่างๆที่มากระทำได้
คุณสมบัติของแบบหล่อที่ดี
- วัสดุที่ใช้ทำแบบหล่อควรมีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย
- มีความแข็งแรงอย่างเพียงพอ ไม่เกิดการแอ่นตัวจนเสีย รูปร่างขณะเทคอนกรีต
- วัสดุที่ใช้ค้ำยันมีความแข็งแรงอย่างเพียงพอ
- รอยต่อของแบบหล่อมีความมั่นคงแข็งแรง
- ผิวสัมผัสระหว่างแบบหล่อควรมีความเรียบพอควร
- สามารถทนทานต่อการปฏิกิริยาจากน้ำปูนโดยไม่เกิด การเสียหาย เสียรูปร่าง
วัสดุที่ใช้ทำแบบหล่อคอนกรีต
- ไม้แปรรูป เป็นวัสดุที่นิยมใช้กับงานก่อสร้างอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะสามารถหาซื้อได้ง่าย มีคุณสมบัติดี สามารถตัดต่อประกอบเป็นรูปร่างได้ มีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก
โดยไม้ที่นิยมใช้ทำแบบหล่อคอนกรีตมากที่สุดคือ ไม้กระบาก โดยทั่วไปไม้แบบสามารถหมุนเวียนนามาใช้ซ้ำได้ประมาณ 3-4 ครั้ง - ไม้อัด nมีลักษณะเป็นแผ่นบาง นิยมใช้ทำเป็นแบบหล่อทดแทนไม้กระดานได้ เหมาะสำหรับงานแบบหล่อที่มีพื้นที่กว้าง เช่น หล่อพื้น หรือผนังคอนกรีต และไม้อัดสามารถทำแบบหล่อที่มีรูปร่างโค้งได้ดี
- เหล็ก แบบหล่อเหล็กนิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง สำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรงและผิวคอนกรีตที่สวยงาม สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ทนทาน ประหยัดค่าแบบหล่อ เหล็กที่นำมาใช้ทำแบบหล่อส่วนใหญ่ เป็นเหล็กมาตรฐาน ASTM ข้อเสียของแบบเหล็กคือ ดัดแปลงรูปร่างยาก น้ำหนักมาก
- พลาสติก แบบหล่อพลาสติกนามาใช้กับงานที่ต้องการคุณภาพผิวงานที่สวยงามและสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง เนื่องจากแบบหล่อพลาสติกมีค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับแบบหล่อชนิดอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมี น้ำยาเคลือบแบบหล่อ โดยมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้คอนกรีตเกาะติดกับผิวแบบหล่อ ทำให้ถอดแบบหล่อออกได้ง่าย ได้ผิวคอนกรีตที่เรียบและสะอาดยืดอายุการใช้งานซ้าของแบบหล่อ
น้ำหนักและแรงดันที่กระทำต่อแบบหล่อ
- น้ำหนักคงที่ คือ น้ำหนักของแบบหล่อ คอนกรีต เหล็กเสริม
- น้ำหนักจร คือ น้ำหนักนอกเหนือจากน้ำหนักคงที่ เช่น คนงาน เครื่องมือ วัสดุต่างๆ
- น้ำหนักจากสภาวะแวดล้อม คือ แรงที่กระทำมาจากธรรมชาติ ได้แก่ แรงลม พายุฝน เป็นต้น
- แรงดันของคอนกรีตต่อแบบหล่อในขณะที่อยู่ในสภาวะของเหลว
ปัจจัยที่มีผลต่อแรงดันคอนกรีตที่มากระทำต่อแบบหล่อ
- ส่วนผสมของคอนกรีต คอนกรีตที่เหลวมีค่าการยุบตัวสูง ทำให้มีแรงดันที่กระทำต่อแบบหล่อมาก และคอนกรีตที่มีสภาพข้นเหนียวมีค่าการยุบตัวต่ำ มีแรงดันต่อแบบหล่อน้อย
- การเทคอนกรีตในอัตราที่ช้า คอนกรีตที่ส่วนล่างจะค่อยๆก่อตัวมีส่วนช่วยลดแรงดันลงได้เป็นอย่างมาก
- ความหนาแน่นของคอนกรีต หากผสมคอนกรีตที่มีหน่อยน้ำหนักยิ่งมาก ยิ่งมีแรงดันคอนกรีตมากขึ้น
- อุณหภูมิ เทคอนกรีตในช่วงอากาศร้อน แรงดันจะน้อย อากาศเย็นแรงดันจะมาก
- การใช้เครื่องสั่นคอนกรีต แรงสั่นสะเทือนทำให้คอนกรีตแน่นตัว ละส่งผลให้เกิดแรงดันต่อแบบหล่อมากขึ้น
- ความสูงของระยะเท แรงดันคอนกรีตจะเพิ่มขึ้นตามความสูงของคอนกรีต
- ขนาดของหน้าตัดโครงสร้าง โครงสร้างใหญ่แรงดันจะสูงกว่าโครงสร้างขนาดเล็ก
- ปริมาณเหล็กเสริม เหล็กเสริมสามารถช่วยต้านทาน และพยุงเนื้อคอนกรีต
ขั้นตอนการถอดแบบหล่อคอนกรีต
- เตรียมสถานที่ ก่อนจะเริ่มถอดแบบหล่อคอนกรีต ควรเตรียมสถานที่ให้พร้อมเสียก่อน ไม่ควรวางแบบหล่อบนพื้นผิวคอนกรีต เพราะอาจทำให้ผิวคอนกรีตเป็นรอยหรือเกิดฝุ่นที่หน้าคอนกรีตได้
- วางลำดับขั้นการถอดแบบหล่อคอนกรีต การถอดแบบหล่อจะต้องวางแผนให้เป็นระบบ เพราะจะต้องทำการค้ำยันบริเวณส่วนกลางของพื้นหรือคานเสียก่อน เพื่อป้องกันการโก่งตัว ที่อาจทำให้เกิดการแตกร้าวได้
- ถอดแบบหล่อ หลังจากเทคอนกรีตแล้ว การถอดแบบและค้ำยัน จะต้องทำภายในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้โครงสร้างบ้านออกมามั่นคงแข็งแรงมากที่สุด
- การบ่มคอนกรีต เป็นขั้นตอนหลังถอดแบบหล่อคอนกรีตแล้ว จะต้องบ่มคอนกรีตด้วยการฉีดน้ำให้ชุ่มหรือใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต โดยใช้เวลาอย่างน้อย 7 วัน เพื่อป้องกันคอนกรีตสูญเสียความชื้นจากความร้อน หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งอาจทำให้พื้นผิวคอนกรีตแตกร้าวได้
เทคนิคเล็กๆน้อยเกี่ยวกับแบบหล่อ เพื่อป้องกันอันตราย
- เช็คระยะห่างตง และเสาค้ำยัน ระยะห่างไม่เกิน 50 เซนติเมตร
- ห้ามลูกจ้างอยู่ใต้แบบหล่อ
- ตีนเสา และค้ำยัน ต้องเช็คให้ดีๆว่าค้ำยันพอไหม
- กรณีใช้เสาและค้ำยันเหล็กสำเร็จรูป ให้เช็คการขันเกลียวปรับระดับความยาวเสาค้ำยันเหล็กให้แน่น
/คนคลั่งไคล้/
Related Content